วันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

บทที่1 อะตอมและตารางธาตุ

บทที่ 1 อะตอมและตารางธาตุ
 1.แบบจำลองอะตอม
          ในสมัยโบราณมีนักปราชญ์ชาวกรีกชื่อ ดิโมคริตุส (Democritus) เชื่อว่าเมื่อย่อยสารลงเรื่อย ๆ 
 จะได้ส่วนที่เล็กที่สุดซึ่งไม่สามารถทำให้เล็กลงกว่าเดิมได้อีก
และเรียกอนุภาคขนาดเล็กที่สุดว่า อะตอม ซึ่งคำว่า "อะตอม"(atom) เป็นคำซึ่งมาจากภาษากรีกว่า
 (atomos) แปลว่า แบ่งแยกอีกไม่ได้ 
แบบจำลองอะตอมของดอลตัน
   อะตอมมีลักษณะทรงกลม และเป็นอนุภาคที่มีขนาดเล็กที่สุด ซึ่งแบ่งแยกไม่ได้ และไม่สามารถสร้าง
ขึ้นใหม่หรือทำให้สูญหายได้จอห์น ดอลตัน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นนักเคมีคนแรกที่เสนอ
แนวคิดเกี่ยวกับอะตอม ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้ธาตุประกอบด้วยอนุภาคเล็ก ๆ หลายอนุภาค อนุภาค
เหล่านี้เรียกว่า อะตอม ซึ่งแบ่งแยกและทำให้สูญหายหรือสร้างขึ้นใหม่ไม่ได้อะตอมของธาตุชนิดเดียว
กันย่อมมีสมบัติเหมือนกัน มีมวลเท่าๆ กัน แต่มีสมบัติแตกต่างจากอะตอมของธาตุอื่น ๆสารประกอบ
เกิดจากอะตอมของธาตุมากกว่า 1 ชนิด ทำปฏิกิริยากันในอัตราส่วนที่เป็นเลขลงตัวอย่างง่าย










แบบจำลองอะตอมของทอมสัน
อะตอม ประกอบด้วย อนุภาคโปรตอนและอิเล็กตรอนกระจายอยู่ทั่วไปอย่างสม่ำเสมอ อะตอมใน
สภาพที่เป็นกลางทางไฟฟ้าจะมีจำนวนประจุบวกเท่ากับประจุลบ
เซอร์โจเซฟ จอห์น ทอมสัน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ทำการศึกษาและทดลองเกี่ยวกับการนำ
ไฟฟ้าของก๊าซโดยใช้หลอดรังสีแคโทด ได้ผลสรุปด้งนี้
ค่าอัตราส่วนประจุต่อมวลของอนุภาคลบหรืออิเล็กตรอน (e ) มีค่าเท่ากับ คูลอมบ์ต่อกรัม ซึ่งมีค่าคงที่

เสมอไม่ขึ้นอยู่กับชนิดของก๊าซและโลหะที่ใช้ทำแคโทด
สรุปแบบจำลองอะตอมของทอมสัน
อะตอมมีลักษณะเป็นทรงกลุม มีอนุภาคที่มีประจุบวก เรียกว่า โปรตอน อนุภาคที่มีประจุลบ เรียกว่า 

อิเล็กตรอน และจำนวนโปรตอนเท่ากับ
จำนวนอิเล็กตรอนกระจายอยู่ทั่วไปในทรงกลม







อ่านต่อ
2.ตารางธาตุ
วิวัฒนาการการสร้างตารางธาตุ
 
         โยฮันดน์ เดอเบอไรเนอร์  จัดธาตุเป็นกลุ่ม ๆ ละ 3 ธาตุ เรียกว่า ชุดสาม และพบว่าธาตุกลาง
จะมีมวลอะตอมเป็นค่าเฉลี่ยของมวลอะตอมของธาตุแรกและธาตุหลังโดยประมาณ
  เช่น
       Li มีมวล 6.9    Na มีมวล 23.0    K มีมวล 39.1
       มวลอะตอม Na =    = 23
Li
Ca
Cl
Na
Sr
Br
K
Ba
I

มีบางกลุ่มที่มวลอะตอมของธาตุตรงกลางไม่เท่ากับค่าเฉลี่ยของธาตุสองธาตุที่เหลือ    
หลักชุดสามของเดอเบอร์ไรเนอร์จึงไม่เป็นที่ยอมรับ      
          
              จอห์น นิวแลนด์ส  ได้เสนอกฎว่า ถ้านำธาตุมาเรียงลำดับตามมวลอะตอมจะพบว่าธาตุที่  8  

มีสมบัติคล้ายกับธาตุที่ 1  โดยเริ่มจากธาตุใดก็ได้

               แต่ไม่รวมก๊าซเฉื่อย    แต่กฎนี้ใช้ได้ถึงธาตุแคลเซียมเท่านั้น และไม่สามารถอธิบายได้ว่า 
เหตุใดมวลอะตอมจึงมาเกี่ยวข้องกับความคล้ายคลึงกันของธาตุได้    
H
Li
Be
B
C
N
O
F
Na
Mg
Al
Si
P
S
Cl
K
Ca
Cr
Ti
Mn
Fe




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทที่ 3 สมบัติของธาตุและสารประกอบ

1.สมบัติของสารประกอบของธาตุตามคาบ 2.ปฏิกิริยาของธาตุและสารประกอบของธาตุตามหมู่ 3.ตำแหน่งของไฮโดรเจนในตารางธาตุ 4.ธาตุแทรนซิชัน 5...