ธาตุโครเมียม


        โครเมียมเป็นโลหะสีขาวเงินเป็นมันวาว และแข็งมาก ในธรรมชาติไม่พบธาตุโครเมียมในรูปธาตุอิสระแต่จะพบในรูปของแร่ต่าง ๆ ที่พบมากคือแร่ไครไลต์ (FeO•Cr2O3) สารประกอบหรือไอออนต่าง ๆ ของธาตุโครเมียมมีสี เช่น K2CrO4 หรือ CrO4 2-มีสีเหลือง K2Cr2O7 หรือ Cr2O72- มีสีส้ม KCr (SO4) 2•12H2O มีสีม่วงแดง
 วิธีเตรียม เตรียมได้โดยการเผาแร่ไครไลต์กับคาร์บอน

FeO•Cr2O3(s) + 4C(s) -----> Fe + 2Cr(s) + 4CO(g)
Fe และ Cr ที่เกิดขึ้นจะอยู่ในรูปโลหะเจือโดยมี Fe : Cr = 1 : 2 ถ้าต้องการโครเมียมบริสุทธิ์
สามารถเตรียมได้โดยเผาแร่ไครไลต์กับ K2CO3 ในอากาศจะได้ K2CrO4 ซึ่งละลายน้ำได้จึงสามารถแยก
ออกจาก FeO ได้

K2CO3 + O2

FeO•CrO3(s) -----------> K2CrO4(s) + FeO(s)

เติม H2O
K2CrO4(aq) + FeO(s)

กรอง K2CrO4 ออกจาก FeO ระเหยน้ำออกจะได้ K2CrO4(s) จากนั้นนำมาเผากับคาร์บอน (C) จะ
ได้ Cr2O3 และเมื่อเผา Cr2O3 กับ Al จะได้ Cr
เผา

K2CrO4(s) ---------> Cr2O3(s)

เผา

Cr2O3(s) + 2Al ---------> 2Cr + Al2O3

ประโยชน์ ใช้เป็นส่วนผสมในเหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless steel) ประกอบด้วย Fe 73% Cr 18%
Ni 8% และ C 0.4% ใช้ทำเครื่องมือผ่าตัด ตัวเรือนนาฬิกา ช้อน และภาชนะต่าง ๆ ใช้เคลือบบนผิวเหล็ก
เพื่อความสวยงามและป้องกันการผุกร่อนของเหล็กใช้เป็นส่วนประกอบในเหล็กกล้าที่ใช้ทำตู้นิรภัย
เครื่องยนต์ เกราะกันกระสุน ใช้ทำโลหะเจือโคบอลต์ซึ่งใช้ทำกระดูกเทียม Cr2O3 เป็นของแข็งสีเขียวแก่ใช้
ทำสีเพื่อเขียนลวดลายเครื่องเคลือบดินเผา Na2Cr2O7 ใช้อุตสาหกรรมฟอกหนัง สารละลายผสมของ K2Cr2O7

กับกรดซัลฟิวริก (H2SO4) เข้มข้นใช้ทำความสะอาดเครื่องแก้วในห้องปฏิบัติการเคมี
































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทที่ 3 สมบัติของธาตุและสารประกอบ

1.สมบัติของสารประกอบของธาตุตามคาบ 2.ปฏิกิริยาของธาตุและสารประกอบของธาตุตามหมู่ 3.ตำแหน่งของไฮโดรเจนในตารางธาตุ 4.ธาตุแทรนซิชัน 5...